Monday, July 28, 2014

ฟันธง! ครัวไทยสู่ครัวโลก ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน คือการรวมตัวของชาติในอาเซียน 10 ประเทศ

ฟันธง! ครัวไทยสู่ครัวโลก ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน คือการรวมตัวของชาติในอาเซียน 10 ประเทศ โดยมี ไทย, พม่า, ลาว, เวียดนาม, มาเลเซีย, สิงคโปร์, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, กัมพูชา และ บรูไน เพื่อที่จะให้มี ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมกันซึ่งจะทำให้มีอำนาจต่อรองต่างๆ กับคู่ค้าได้มากขึ้น และการนำเข้า ส่งออกของชาติในอาเซียนก็จะเสรี ยกเว้นสินค้าบางชนิดที่แต่ละประเทศอาจจะขอไว้ไม่ลดภาษีนำเข้า แนวทางในการดำเนินงานของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน คือ การร่วมมือกันด้านการตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน การเป็นภูมิภาคที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง การเป็นภูมิภาคที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่เท่าเทียมกัน และการเป็นภูมิภาคที่มีการบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก การลงทุนจากประเทศนอกกลุ่มอาเซียนจะเข้ามาในประเทศไทยมากขึ้น เนื่องจากภูมิศาสตร์ของไทยอยู่ตรงกลางภูมิภาค T 25 จึงเหมาะแก่การลงทุนเป็นฐานการผลิต เพื่อส่งต่อไปยังประเทศอื่นในภูมิภาค แต่อุตสาหกรรมที่น่าเป็นห่วงของไทยคืออุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้แรงงานเป็นหลัก เช่น ภาคการเกษตร, ก่อสร้าง, อุตสาหกรรมสิ่งทอจะได้รับผลกระทบ เนื่องจากฐานการผลิตอาจย้ายไปประเทศที่ผลิตสินค้าทดแทนได้เช่นอุตสาหกรรมสิ่งทอ โดยผู้ลงทุนอาจย้ายฐานการผลิตจากประเทศไทยไปยังประเทศที่มีค่าแรงถูกกว่า ที่น่าสนใจคือภาคส่งออกอาหารไทย กระทรวงอุตสาหกรรมเผยด้านภาคส่งออกอาหารไทย จะมี ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนโครงการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล เพื่อตอบโจทย์พัฒนาภาคอุตสาหกรรมอาหารของไทยให้เป็น “ครัวคุณภาพของโลก” ภายใต้นโยบาย “ครัวไทยสู่ครัวโลก” เพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมอาหารของไทยเติบโตไปในทิศทางที่สอดรับกับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอย่างเต็มรูปแบบซึ่งผู้ประกอบการจะต้องมีความพร้อมที่จะเข้าสู่ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน การพัฒนาองค์ความรู้ในกลุ่มประเทศอาเซียน การเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนการผลิตการส่งเสริมอุตสาหกรรมสีเขียวเพื่อลดต้นทุนการผลิต การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า หลีกเลี่ยงการแข่งขันด้านราคากับประเทศที่มีต้นทุนการผลิตต่ำกว่า การพัฒนาการตลาด เพื่อแสวงหาลู่ทางขยายตลาด เช่น การจับคู่ธุรกิจ สร้างเครือข่าย/พันธมิตรทางธุรกิจ สร้างตราสินค้าและขยายตราสินค้าไทยออกสู่อาเซียน เพื่อรับมือตลาด ในประเทศที่จะมีการขยายตัวสูงและเผชิญการแข่งขันที่รุนแรง มีการประเมินการส่งออกอาหารปี 2557ประเทศในกลุ่มอาเซียนจะยังคงเป็นตลาดส่งออกหลักของไทย และคาดว่าจะเติบโตได้ราวร้อยละ 6.2 หรือ 970,000 ล้านบาท แนวโน้มการส่งออกอาหารของไทยในปี 2557 มีโอกาสจะขยายตัวเพิ่มขึ้น แต่เป็นการขยายตัวในอัตราที่ไม่สูงนัก T25 คือคาดว่าจะมีมูลค่าการส่งออกประมาณ 970,000 ล้านบาทเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.2 ซึ่งเป็นมูลค่าใกล้เคียงกับปี 2555 โดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ คาดว่า เศรษฐกิจโลกในปี 2557 จะขยายตัวร้อยละ 3.6 สูงที่สุดในรอบ 3 ปี ขณะที่ค่าเงินบาท มีแนวโน้มทรงตัวหรืออ่อนค่าลงเล็กน้อย คาดว่าค่าเงินบาททั้งปี 2557 จะเฉลี่ยอยู่ที่ 31.34 บาท ต่อดอลลาร์สหรัฐฯ นอกจากนี้ราคาและความต้องการน้ำตาลในตลาดโลกมีแนวโน้มฟื้นตัว ปัจจัยลบที่จะกระทบการเติบโตของอุตสาหกรรมอาหารไทยในปี 2557 คือสินค้าอาหารแปรรูปของไทยจะถูกสหภาพยุโรป(อียู) T25 ราคา ตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร ตั้งแต่ต้นปีเป็นต้นไป โดยเฉพาะกลุ่มสินค้ากุ้งแปรรูปที่ต้องพึ่งพิงตลาดอียู ฉะนั้นภาคอุตสาหกรรมอาหารของไทยควรเร่งเตรียมความพร้อมเพื่อช่วงชิงโอกาสจากการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 เพราะจะเกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอุตสาหกรรมอาหารของไทยใน 2 ประเด็นใหญ่ๆ คือ 1) อุตสาหกรรมอาหารภายในประเทศไทยมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มสูงขึ้นและมีการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น จากการเข้ามาลงทุนของต่างชาติ ทั้งนักลงทุนในและนอกภูมิภาคอาเซียน 2) อุตสาหกรรมอาหารไทยที่มีศักยภาพจะขยายการค้าการลงทุนไปสู่ประเทศอาเซียนเพิ่มขึ้นเพื่อเข้าถึงตลาด แหล่งวัตถุดิบ แรงงานต้นทุนต่ำรวมทั้งสิทธิพิเศษทางภาษีในกรณีที่ไทยไปลงทุนในกลุ่มประเทศ กัมพูชา, ลาว,พม่า, เวียดนาม ซึ่งได้รับสิทธิพิเศษทางภาษี จากประเทศพัฒนาแล้วอย่างสหรัฐฯ รวมถึงยุโรปอีกด้วย T25

No comments:

Post a Comment