Tuesday, July 29, 2014

ตักบาตรขนมครก ประเพณีโบราณแห่งเดียวในโลกที่อำเภอบางคนที สมุทรสงคราม

ตักบาตรขนมครก ประเพณีโบราณแห่งเดียวในโลกที่อำเภอบางคนที สมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม T 25 หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า เมืองแม่กลอง เป็นจังหวัดเล็กๆ ในภาคกลางของประเทศไทย ที่มีเพียง 3 อำเภอ แต่ประวัติศาสตร์และความงดงามทางการท่องเที่ยวและวัฒนธรรมจัดได้ว่าไม่แพ้จังหวัดอื่นๆ เลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นการล่องเรือชมหิ่งห้อย ตลาดน้ำอัมพวา อุทยานประวัติศาสตร์ ร.2 และอีกหนึ่งประเพณีเก่าแก่ที่ชาวแม่กลองได้อนุรักษ์และสืบสานต่อเนื่องกันมานับร้อยๆ ปี นั่นก็คือ ประเพณีตักบาตรขนมครก วัดแก่นจันทร์เจริญ อ.บางคนทีนั่นเอง ดังนั้น เราจะพาท่านผู้อ่านไปรู้จักกับความเป็นมาของประเพณีโบราณดังกล่าว สำหรับประเพณีตักบาตรขนมครก T25 คือ จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในวันขึ้น 8 ค่ำเดือน 10 ณ วัดแก่นจันทร์ เจริญ ต.บางพรหม อ.บางคนที จ.สมุทรสงคราม เพื่อเป็นการสืบทอดประเพณีทำบุญตักบาตรที่มีมาแต่ พุทธกาล โดยประเพณีตักบาตรขนมครกนี้ได้มีการเลียนแบบมาจากประเพณีการตักบาตรขนมเบื้องของ พระราชพิธีในวัง ซึ่งเป็นพระราชพิธีที่สืบทอดมาตั้งแต่กรุงศรีอยุธยาจนถึงปลายรัชสมัยรัชกาล ที่ 5 ก่อนวันงานชาวบ้านจะร่วมแรงร่วมใจนำข้าวสารมาหมักค้างคืนไว้ พอถึงรุ่งเช้าก็จะช่วยกันโม่แป้ง เก็บมะพร้าวมาคั้นกะทิ หลังจากนั้นก็ช่วยกันหยอดแป้งทำขนมครกและร่วมกันตักบาตรพระสงฆ์ด้วยขนมครก และในปัจจุบันจะมีการถวายน้ำตาลทรายเพื่อให้พระสงฆ์ได้ใช้ประโยชน์เพิ่มไปอีกด้วย ซึ่งประวัติความเป็นมาของประเพณีนี้ เจ้าอาวาสวัดแก่นจันทร์เจริญ เล่าว่า มาจากหลักธรรมคำสั่ง สอนของพระพุทธเจ้าในธรรมบทภาคที่ 2 เรื่อง “โกสิยะเศรษฐีผู้มีความตระหนี่ถี่เหนียว” ใจความโดยสรุปว่า พระองค์ต้องการสั่งสอนเศรษฐีคนนี้ที่ขี้เหนียวแม้ว่าครอบครัวจะร่ำรวยก็ตาม โดยวันหนึ่งเศรษฐีเห็นยาจกยากจนกำลังกินขนมครกก็อยากกินบ้าง แต่ด้วยความขี้เหนียวก็อดกลั้นความอยากไว้ เพราะ กลัวสิ้นเปลืองเงินทอง เมื่อภรรยาทราบก็แอบทำขนมครก T25 ราคาโดยไม่ให้ใครรู้เพื่อจะให้สามีกินคนเดียว เมื่อ พระพุทธเจ้าทราบจึงให้พระโมคคัลลานะไปอบรมสั่งสอนโดยแสดงผลทาน เมื่อเศรษฐีได้ฟังก็เลื่อมใส เปลี่ยนนิสัย กลายเป็นคนที่เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อทุกคนและหมั่นทำบุญให้ทานเป็นกิจวัตร ส่วนผู้ที่ริเริ่มประเพณีทำบุญตักบาตรขนมครกที่วัดแก่นจันทร์เจริญแห่งนี้คือ พระครูสมุทรสุตกิจ หรือหลวงปู่โห้ เจ้าอาวาสรูปแรก ตั้งแต่ปี 2437 เพราะสมัยก่อนชาวบ้านส่วนใหญ่ยากจน การทำบุญตักบาตรมีแต่อาหารที่หาได้โดยไม่ต้องซื้อ ขนมหวานไม่ค่อยมีใครถวาย จะมีก็แต่ขนมครกที่ทำง่ายวัสดุก็มีอยู่ในบ้านเป็นส่วนใหญ่และราคาถูก เช่น แป้งข้าวเจ้า มะพร้าว และน้ำตาล เมื่อท่านมรณภาพลง พระครูสมุทรกิจโกวิท เจ้าอาวาสรูปที่ 2 ก็ สืบสานต่อเรื่อยมาจนปัจจุบัน T25

No comments:

Post a Comment